….บอกก่อนว่าส่วนตัวไม่เคยรู้จักกับ HL7 มาก่อนนะครับ ผิดพลาดอะไรก็ขออภัยครับ
ได้ข่าวว่าจะมาแทนรูปแบบการส่งออก 43 แฟ้ม เป็นการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
ระหว่าง รพ. กับ กระทรวงฯ หรือ หน่วยงานภายใน กระทรวงฯ กับ หน่วยงานอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข (อันนี้ผมคิดเองนะครับ ยังไม่ฟันธง)
งั้น it อย่างเราๆ ก็มาดูก่อนว่า HL7 มันคืออะไร มีดีอย่างไร เอาแบบที่ผมได้ศึกษา จากเว็บต่างๆ นะครับ รวบรวมไว้ในนี้ให้ศึกษาเพิ่มเติมครับ
…….
HL7 มาจากคำเต็มว่า Health Level 7
…เป็นคำเรียกรวม ๆ กลุ่มของ standard (คือมีหลาย standard อยู่ในกลุ่มอีกที) ที่พัฒนาโดย HL7 international
ในสหรัฐอเมริกา ในบรรดา standard หลาย ๆ ตัวที่อยู่ในกลุ่ม ตัวที่ได้รับความนิยมและถูกพูดถึงบ่อย ๆ
ก็มี HL7 v2 (version 2), HL7 v3 (version 3) และล่าสุด HL7 FHIR ผมก็เลยจะแนะนำตัว HL7 FHIR เลยละกัน
ตัวอย่างรูปแบบ HL7 v2 (นานมาแล้ว)
HL7 FHIR มีส่วนประกอบหลัก ๆ อยู่ 3 ส่วน
1. Resources: หน่วยย่อยที่สุดของข้อมูล เช่น patient resource, allergy resource, family history resource เป็นต้น แต่ละ resource ก็จะมีโครงสร้างว่ามีข้อมูลอะไรบ้างใน resource นั้น
2. References: ความสัมพันธ์ระหว่าง resources ต่าง ๆ เช่น medication resource ก็สัมพันธ์กับ condition resource, patient resource, practitioner resource
3. Profiles: การนำ resources ต่าง ๆ มาประกอบกันให้เอาไปใช้งานได้ เช่น จะสร้าง discharge summary ต้องใช้ resources อะไรบ้าง ต้อง binding กับ terminology อะไร
การเข้าถึงส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านี้จะทำผ่าน REST API เหมือนเว็บอื่น ๆ เช่น ต้องการ patient resource
ก็ GET request ไป mydomain/Patient/id เป็นต้นครับ
อันนี้ทำให้ developer รู้สึกว่า HL7 FHIR เรียนรู้และ implement ได้ง่ายกว่า standard อื่น ๆ
ปัจจุบัน HL7 FHIR เป็น release 3 อยู่ในสถานะ Standard for Trial Use (STD)
ก็คือพร้อมให้องค์กรต่าง ๆ ลองเอาไปใช้ดู ก่อนจะผ่านไปสู่ normative edition (เวอร์ชั่นสมบูรณ์) ต่อไป
สรุปอาจเป็น standard ที่ดูมีอนาคต สังคมคาดหวัง
แต่มีความเสี่ยงถ้า implement ตอนนี้เลย เพราะยังไม่ใช่เวอร์ชั่นสมบูรณ์
ภาพประกอบ ได้จาก google
ผมคิดว่าน่าจะเน้นไปทาง implement ให้เยอะๆ คนสาธารณสุข จะได้ทราบทีละนิดทีละหน่อย ไม่ใช่บอกมาตูม…. แล้วงง กันทั้งวงการ (ความเห็นส่วนตัวอีกแล้ว)
จากความเห็น อ. หลายๆ ท่านที่ได้แสดงความเห็นมานะครับ ผมก็เอามาเรียบเรียงให้เขากับเนื้อนี้
เป็นไปได้ว่า เราควรเตรียมตัวอย่างไรดี
1. เราควรมี มาตราฐาน เพื่อลดความจำเป็นในการ เลือกจัดการ ระบบทุกครั้งเวลาเชื่อมต่อข้อมูลกันระหว่าง 2 ระบบ หรือ 3 – 4 ระบบ
2. การทำงานร่วมกัน มี 3 ระดับ ต่อกัน เรียก พื้นฐานต่อกันแบบมีโครงสร้างเรียก โครงสร้าง (syntactic) ต่อกันแบบเข้าใจความหมายตรงกันเรียก ความหมายของ พื้นฐาน กับ โครงสร้าง นั้นเอง
3. HL7 v2 เป็น healthcare messaging standard ที่ใช้เยอะที่สุดในโลก
4. HL7 v3 มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน (RIM, messaging, CDA)
5. HL7 FHIR เป็นน้องใหม่ไฟแรง ที่ทุกคนคาดหวังว่าจะเป็น standard ของยุคหน้า
ผมคิดว่า การทำงานร่วมกันด้านข้อมูลสุขภาพ ในไทยคงอีกนานกว่าจะเกิด เพราะหลาย ๆ ปัจจัย
SMEs และ Startups สาย healthcare ก็ดู ๆ เรื่องพวกนี้ไว้บ้างก็ดีครับ แต่ยังไม่ได้เร่งด่วนว่าต้อง implement เท่านั้นเอง
อ้างอิง
http://www.springer.com/gp/book/9783319303680
https://drive.google.com/file/d/0BzykygBlMb6iSy1ILXlBMm1tU0E/view
และค้นหา HL7 จาก www.google.com ครับ
22,959 total views, 12 views today