มาเล่าประสบการณ์ การลง Centos8 กันให้อ่านกันดูครับ
– ลงแบบ พื้นฐานนะครับ ไม่ได้ advance (ลงลึกเจาะจง)
– มาเริ่มกันเลย
– จะลงผ่าน Proxmox Virtual Environment นะครับ เป็นฟรี Virtual Environment นะครับ
– ขั้นตอนแรก ไปเพิ่มไฟล์ iso เข้าไปใน local-storage ก่อนนะครับ เพื่อเวลาติดตั้งจะหาไฟล์ iso ในเครื่องเลย
– กด Upload ไฟล์ได้ที่ local –> content –>upload นะครับ
– กดปุ่ม Select File….
– เลือกไฟล์ iso สำหรับจะเอาไปเก็บไว้ใน local storage
– รอจน upload เสร็จ
– เสร็จแล้วก็ไปเริ่มสร้าง VM ใหม่กันเลยครับ
– กดปุ่มสร้าง Create VM
– จะขึ้นหน้าจอสร้าง Virtual Machine ให้เรากำหนดครับ กำหนดชื่อ ก่อนเลย
– แล้วกดปุ่ม Next ต่อไป
– ใช้ติดตั้งผ่าน CD/DVD disc image file(iso) จะมีไฟล์ที่เราเพิ่งอัพโหลดไป ตอนแรกนะครับ ให้เลือก CentOS-8-x86_64-1905-dvd1.iso นะครับ แล้วกด Next
– จะเห็น Storage เรามีพื้นที่ทั้งหมด 800 GB เราก็กำหนดแค่ 128 พอ เพื่อทดสอบระบบ
– ก็พิจารณาตามความเหมาะสม หากจะใช้เป็น HOSxP ตัวหลัก ตามขนาด รพ. นะครับ
– เพื่อทดสอบระบบ ผมกำหนดแค่ 128 GB พอ
– กำหนด CPU ตามต้องการเลย แต่ให้กำหนดไม่เกิน space ของ server เรานะครับ
– กำหนด Memory กำหนดตามต้องการเลย แนะนำให้กำหนดเป็นแบบ Automatically allocate memry within this range เพื่อให้มีการเพิ่มแรมได้หากมีการใช้แรมเกินลิมิต (Minimum memory) นั้นเองครับ หรือจะ Fixed size memory ก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมนะครับ
– ส่วน Network กำหนดเป็น Bridged mode นะครับ เลือก vmbr0 เป็น card lan ตัวหลักนะครับ
– กรณีต้องการแท็ก VLAN ก็ทำได้เช่นกัน แต่กรณีผมมีวง vlan server อยู่แล้วไม่ต้องแท็กครับ
– กด Next ต่อไป
– เสร็จแล้ว ดูสรุปตามที่เรากำหนดเลย ถ้าจะแก้ไขก็ย้อนกลับไปแก้ไขได้นะครับ ส่วนผมกด Finish ต่อไปเลย
– เริ่ม start vm ใหม่กันได้เลยครับ
– กด Console เพื่อให้แสดง หน้าจอ QEMU นะครับ เหมือนเปิดตัวรีโมท เข้าไปหน้าจอ server vm นะครับ
– เลือก Install CentOS Linux 8.0.1905 นะครับ เลื่อนลูกศร ขึ้นบนนะครับ
– ก็จะเริ่มติดตั้ง เหมือนลง Linux ทั่วไปนะครับ
– กด Continue ต่อไปครับ
– ให้กดเข้าไป ตามลูกศร ที่ชี้ไปนะครับ ว่าจะกำหนดอะไรบ้าง ปุ่ม Begin Installation ถึงจะยอมให้ติดตั้งนะครับ
– กำหนดที่ Time & Date ก่อนเลย
– กำหนด Asia กับ Bangkok หรือกดที่ รูปประเทศไทย ก็ได้นะครับ เพื่อให้ทราบตำแหน่งของ เวลาสากลโลก ที่เขาใช้กัน ใช้ 24-hour ด้วยนะครับ เสร็จแล้วกดปุ่ม Done ก็จะกลับเมนูหลัก
– ต่อไปกดที่ Installation source ไฟล์ต้นทางจาก ไฟล์ iso นั้นเอง
– ปกติเราก็เลือก Auto-detected อยู่แล้วนะครับไม่ต้องแก้ไขอะไร กดปุ่ม Done
– ต่อไปกำหนด Software selection
–
– เลือก Server with GUI สำหรับมือใหม่นะครับ ถ้าเก่งแล้วค่อยเลือก แบบอื่นๆ ได้ตามใจชอบเลยนะครับ
– กรณีเลือก Server with GUI หมายถึง จะมีเมนูให้เรากำหนด โดยใช้เมาส์คลิกได้ง่ายนั้นเอง แต่ก็กินแรมในส่วน GUI นี้ด้วย คนที่เก่งแล้ว ก็จะนิยมไม่ใช้โหมด GUI นั้นเอง หรือ เราสามารถปิดโหมด GUI ได้ภายหลัง
– เลือก Add-ons ที่จะแนะนำ ตามรูปลูกศร ชี้เลยนะครับ
– ต่อไปเลือก Installation Destination สำหรับกำหนด partition
– สำหรับมือใหม่ ให้เลือก Automatic นะครับ แล้วกดปุ่ม Done เป็นอันเสร็จ แต่…
– ถ้าเป็นมืออาชีพ ควรเลือก Custom จะเข้าสู่โหมดการสร้าง patitaion ตามที่เรากำหนด
– กรณีเลือก Custom
– เมื่อเลือก custom แล้วกดปุ่ม Done จะเข้าสู่หน้าจอนี้
– ให้เราเลือก Click here to create them automatically ก่อน ระบบจะสร้าง patition ให้เราก่อน แล้วค่อยไปแก้ไข ขนาดพื้นที่อีกที (สำหรับมือใหม่นะครับ)
– ต่อไปเราจะลง /home ออก เพราะเราใช้ / เป็นตัวหลัก
–
– ต่อไปเราจะกำหนดให้ / คือเอาพื้นที่ที่เหลือทั้งหมด มาอยู่ที่ /
– เราก็เข้าไปลบช่อง Desired Capactiy ให้ว่าง แล้วกดปุ่ม Update Settings ก็จะได้พื้นที่ที่เหลือทั้งหมด หลังจากลบ /home ออกแล้วนะครับ
– ก็จะได้ตามรูปนี้คือ ไม่มี /home แต่ /home จะไปอยู่ใน / แทนนะครับ ดั้งนั้น / จะเป็นที่เก็บข้อมูลทั้งหมด โดยแนะนำมือใหม่ ตามนี้นะครับ ส่วนท่านที่เทพๆ แล้ว จะกำหนด patition ยังไงก็ตามต้องการครับ เพราะแล้วแต่ความถนัดของแต่ละท่าน ต่อไปกด Done
– กด Accept Changes เพื่อยืนยันนะครับ
– ต่อไปกำหนด Network & Host Name
–
– กด On และ กำหนดชื่อ host name ตามต้องการ แล้วค่อยไปกด Configure…
– กำหนด IPv4 แบบ Manual คือกำหนด ip เอาเองนะครับ
–
– กำหนด ip เสร็จแล้วก็กดปุ่ม Save นะครับ แล้วค่อยกด Done กลับเมนูหลัก
–
– ต่อไปก็จะสามารถกดปุ่ม Begin Installation ได้แล้วละครับ
– กดเริ่มติดตั้งได้เลย
– ในช่วงที่ติดตั้ง เราสามารถกำหนดรหัสผ่านของ root และสร้าง User ใหม่ได้ตามลูกศร นะครับ
– ข้อแนะนำ ควรกำหนดรหัสผ่านแบบเข้าใจง่าย แต่เข้าใจเฉพาะ องค์กร เรา เช่น คำถามภายในองค์กร ชื่อเฉพาะที่องค์กร เรานำมาใช้งานกัน อันนี้ไม่ขอยกตัวอย่างนะครับ
– แนะนำให้ขึ้น Strong นะครับ เพื่อให้ระบบยืนยันความยากของรหัส
– ต่อไปไปสร้าง user ใหม่ เพราะถ้าไม่สร้าง user เริ่มต้นจะเป็น root เลย ทำให้เข้าไปแก้ไขอะไรง่ายเกินไป ควรสร้าง user ไว้ก่อน แล้วค่อย ยืนยันการติดตั้งผ่าน user root อีกที จะเป็นมาตราฐานสากล นะครับ
– เสร็จแล้วก็รอจนติดตั้งเสร็จนะครับ
–
– เสร็จแล้ว กดปุ่ม Reboot นะครับ
– เมื่อเปิดใหม่ จะขึ้นหน้าจอให้ยอมรับ License Information (ฟรีเวอชั่นนะครับ)
– กด I accept the license agreement. ยอมรับเงื่อนไข กรณี การนำไปใช้งานนะครับ
– กดปุ่ม Finish Configuration เป็นอันเสร็จครับ ก็จะเข้าหน้าจอใช้งานได้แล้ว
– login เริ่มต้นจะเป็น user ที่เราได้สร้างไว้ ถ้าเราไม่สร้างไว้ จะเป็น user root เลย ทำให้เวลาใช้งานจะมีสิทธิสูงสุดเลย จึงแนะนำให้สร้าง user อื่นด้วย เพื่อให้เขาใช้งานพื้นฐาน แล้วค่อย sudo root เวลาจะติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมนะครับ
– เนื้อหายาวหน่อยนะครับ แต่เพื่อความเข้าใจ เลยขออธิบายยาวๆ หน่อย
–
– ต่อไปเดี่ยวพาติดตั้ง MariaDB 10 แล้วพาโอนข้อมูลจาก server หลักมาเก็บที่ server ใหม่ที่เราลงนี้นะครับ
– แล้วมาดู moniter mysql process กันดูว่าจะรองรับ user ดีขนาดไหนนะครับ กรณีนี้ยังใช้ HOSxP v3 อยู่นะครับ แต่ V4 ไม่แน่ใจนะครับ
– รอติดตาม ตอนที่ 2 นะครับ แล้วพบกันครับ
…….
…….
…….
[CentOS] ติดตั้ง CentOS8 ลงบน Proxmox ตอนที่ 2
5,728 total views, 9 views today