มีเพื่อนๆ น้องๆ ถามมาว่า Node JS ติดตั้งยังไง แล้วจะเขียนยังไงให้มัน return ค่า json มาแสดงต่อยังไง ?
ผมเลยมาตอบคำถามนี้ก่อน ค่อยไปต่อยอดตัว Flutter ต่อนะครับ
เอาเป็นว่ามาดูวิธีติดตั้ง Node JS ก่อน ผมจะอธิบายการติดตั้งบน Centos 6 ให้ก่อนนะครับ  เพราะ window ติดตั้ง node ได้เลยไม่ได้ซับซ้อนอะไร  อ้า….มาดูขั้นตอนสั้นๆ ตามนี้นะครับ

ตัว Node.js  เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างจาก JavaScript สำหรับสร้างแอปพลิเคชันบนเครือข่ายที่รวดเร็วและปรับแต่งได้สะดวกรวดเร็ว  โดยส่วนใหญ่ เขาจะเอาไว้ทำ API เป็นตัวจัดการอยู่เบื้องหลัง ทำให้ APP มีแค่ UI ไม่ต้องยุ่งกับ ฐานข้อมูลโดยตรง รับค่าแค่ JSON หรือ XML เข้ามาทำงานภายใน แอปพลิเคชัน พอ  (ประมาณนี้ เอาที่ผมเข้าใจนะ อ่านศึกษาเพิ่มเติมใน google นะครับ )
สามารถติดตั้งผ่าน yum install จาก repository ได้เลย หากใช้ Centos/RHEL 7/6  มาดูขั้นตอนดังนี้
ปล. server ต้องออก internet ได้ก่อนนะครับ
ขั้นตอนที่ 1  เพิ่ม Yum Repository เข้าไปก่อน (หากยังไม่มี)
คำสั่งติดตั้งผ่าน command line คือ
yum install -y gcc-c++ make
curl -sL https://rpm.nodesource.com/setup_10.x | sudo -E bash –

อันนี้ผมติดตั้งแล้วก็จะขึ้นว่า Package gcc-c++  already install คือติดตั้งแล้ว

เสร็จแล้วก็มาทำขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 2   ติดตั้ง Node.js บน Centos
คำสั่งติดตั้งผ่าน command line คือ
yum install nodejs






เสร็จแล้วก็มาทำขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 3 เช็คเวอชัน Node.js
โดยใช้คำสั่ง ตรวจสอบคือ

node -v  หรือ

npm -v  ก็ได้

ขั้นตอนสุดท้าย ก็มาเขียน web service สักตัว เพื่อทดสอบว่า node.js เราทำงานได้หรือยัง
– สร้างไฟล์ ชื่อ demo_server.js
แล้วว่างโค้ด ตัวอย่างตามนี้
var http = require(‘http’);
http.createServer(function (req, res) {
res.writeHead(200, {‘Content-Type’: ‘text/plain’});
res.end(‘Welcome Node JS by I”m ARM ‘);
}).listen(3000, “192.168.1.238”);
console.log(‘Server running at http://192.168.1.238:3000/’);


– ผมใช้ vi แก้ไขไฟล์ demo_server.js แล้วก็ใส่โค้ดตัวอย่าง แล้วกดบันทึก :wq
– เปิด port 3000 เพื่อทดสอบ
– สั่ง run  ด้วยคำสั่ง   node –inspect demo_server.js

ถ้าไม่มี error จะแสดงข้อความตามนี้

– แล้วไปเปิด browser ที่ url = 192.168.1.238:3000  ดู ถ้าแสดงตามรูปนี้ก็ถือว่าผ่าน นะครับ

ก็ถือว่าติดตั้ง Node js เสร็จเรียบร้อยแล้ว รอวางโค้ด API ของ อ.เอ ต่อไปได้ครับ  (เดี่ยวมาเขียนต่อ บทความต่อไปนะครับ)
รอ…..ติดตาม





ปล. คำสั่งเพิ่ม port 3000 สำหรับ Centos 7 ตามนี้นะครับ
firewall-cmd –zone=public –add-port=3000/tcp –permanent
แล้วค่อย restart firewall ด้วยคำสั่งนี้
firewall-cmd –reload
ก็เป็นอันเสร็จครับ

ต่อมาเราก็ค่อยไปเขียน API ต่อนะครับ บทความต่อไปจะมาพูดถึงการนำ JSON ที่ได้จาก API มาใช้งานภายใน APP จาก Flutter อีกที รอติดตามนะครับ
หากท่านชอบบทความนี้ อย่าลืมกด Like กดแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ
ขอบคุณที่ติดตามครับ แล้วพบกันใหม่ครับ

Loading

Flutter ติดตั้ง NODE JS ก่อนจะไปสร้าง API สำหรับ Return JSON EP.4
Tagged on:         

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.