HOSxP Report เขียนคำสั่งบันทึกการพิมพ์ OPDCARD หากรายงานนี้ถูกสั่งพิมพ์
มีน้องๆถามมา ว่าจะเขียน คำสั่ง เก็บบันทึกเวลารายงานตัวพิมพ์ออกจาก hosxp ทำได้ไหม ?
ตอบ. ได้นะครับ มาดูวิธีการกันครับ
จากรายงานที่ผมแจกไว้ในหน้านี้ นะครับ
“ฟรี ! รายงาน และ dataset สำหรับ HOSxP & HOSxP_PCU ”
จะมีรายงานที่ชือ 30. FORM-Doctor-OPDCARD ** ดาวโหลด ** ดูตัวอย่างรายงาน
สามารถเอาตัวนี้ไปแกะ แล้วปรับประยุกต์ได้
เพราะมี โค้ด pascal ที่สั่งบันทึกเก็บที่ตาราง
จะเป็นโค้ด สำหรับ เก็บข้อมูลเข้าตาราง pq_doctor ว่า vn นี้มีการพิมพ์ออกจากระบบจริง ๆ
โดยรายงานตัวนี้ท่านต้องใช้ แท็บ Script ในการเขียนนะครับ
แต่ภาษาที่ใช้เขียน จะต้องเป็นภาษา pascal เท่านั้นด้วย มาดูคำอธิบาย แต่ละคำสั่งนะครับ
เริ่มจาก 1 – 11 บรรทัดแรกคือการประกาศ unit ชื่ออะไร และมี procedure ชื่ออะไร
แล้ว บรรทัดที่ 3 เป็นต้นมา ก็จะเป็นการประกาศตัวแปร คือ
pq_doctor_cds เป็น ตัวแปรของ Tclientdataset คือเป็นตัวแปรสำหรับดึงข้อมูล มาเก็บพักไว้ เหมือน excel
vn, computername เป็นตัวแปรตัวอักษรที่เอาไว้เก็บเลข vn ณ ตอนรายงาน และ computername ดึงชื่อคอมพิวเตอร์ที่ online ของ ผู้ใช้งานของเครื่องนั้น
doctor,staff คือตัวแปร เอาไว้เก็บรหัสแพทย์ ที่ login เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ และ staff คือ ชื่อ login ที่เข้าใช้งาน hosxp โดยกรองจากชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์อีกที
ต่อมา บรรทัดที่ 7 คือ begin
ก็คือเริ่มดึงค่ามาเก็บยังตัวแปรที่กำหนด คือ
vn := report_value(1);
ดึงค่า Param ตัวที่ 1 มาไว้
computername := report_value(2);
ดึงค่า Param ตัวที่ 2 มาไว้ ตามรูปด้านล่าง
doctor := getsqldata(‘select if(count(*)>0,op.doctorcode,”00″)as cc from onlineuser o left outer join opduser op on op.loginname=o.kskloginname where servername=”‘+computername+'” ‘);
ได้ตัวแปร computername แล้วก็มากรองหา รหัสแพทย์ ถ้าไม่มีก็ให้ค่าเป็น ’00’ นั้นเอง
staff := getsqldata(‘select kskloginname from onlineuser where servername=”‘+computername+'” ‘);
อันนี้ก็เช่นกันมาหา loginname ที่ใช้งาน hosxp ที่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้นั้นเอง
ต่อมา บรรทัด 13 เป็นต้นไป ก็คือการ query หาข้อมูลตาราง pq_doctor ว่ามีข้อมูลใน vn กับ staff นี้ไหม ถ้าไม่มี ก็สั่งเพิ่ม คือ pq_doctor_cds.insert ถ้ามีอยู่แล้วก็สั่ง pq_doctor_cds.edit นั้นเอง
ก็มากำหนดค่าที่จะให้บันทึกเข้าไปในแต่ละฟิวล์ที่จะกำหนด เช่น pq_doctor_cds[‘vn’] := vn; เช่น vn ก็ไปเก็บไว้ที่ฟิวล์ vn ของตาราง pq_doctor นั้นเอง
และฟิวล์อื่นๆ
pq_doctor_cds[‘pq_doctor_id’] := getsqldata(‘select get_serialnumber(“pq_doctor_id”) as cc’);
** กรณีต้องการให้ดึงเลข pq_doctor_id ล่าสุด จะมีคำสั่ง get_serialnumber ดึงค่าล่าสุดมาให้ได้เลยครับ ท่านไม่ต้องไปหา id ล่าสุดในตาราง pq_doctor นะใช้คำสั่งนี้แทนได้เลย เลข serial ก็จะรันไปเรื่อยๆ เลยครับ **
pq_doctor_cds[‘doctor_date’] := formatdatetime(‘yyyy-mm-dd’,date);
pq_doctor_cds[‘doctor_time’] := formatdatetime(‘hh:nn:ss’,now);
pq_doctor_cds[‘staff’] := staff;
pq_doctor_cds[‘doctor’] := doctor;
pq_doctor_cds[‘doctor_time_type_id’] := ‘1’;
pq_doctor_cds[‘hos_guid’] := ‘insert_by_report_ds’;
เสร็จแล้วก็สั่ง บันทึกเก็บไว้ใน dataset ก่อน คือ pq_doctor_cds.post; แล้วค่อยเอา dataset ที่มี สั่ง update ขึ้นไปยัง server อีกที ด้วยคำสั่ง
hosxp_updatedelta(pq_doctor_cds.delta,’select * from pq_doctor where vn=”‘+vn+'” and staff =”‘+staff+'” ‘);
โดยจะเช็คก่อนว่ามี dataset ที่มีการแก้ไขหรือเพิ่มหรือไม่คือเงื่อนไขที่บรรทัด 32 คือ
if pq_doctor_cds.changecount > 0 then
ถ้ามี ก็สั่งบันทึกไปยัง server
ถ้าไม่ก็ไม่ต้องทำอะไร
ประมาณนี้ พอให้เข้าใจหลักการนะครับ (สำหรับมือใหม่ ๆ ที่ถามกันเข้ามา )
ที่นี้เวลาพิมพ์รายงานที่หน้าจอแพทย์ ก็จะทำงานคำสั่งที่เราเขียนไว้นีด้วยเช่นกัน
แต่อย่าลืมเช็คว่าพิมพ์ออกรายงานชื่อนี้ด้วยนะ กรณีเรากำหนดชื่อฟอร์มรายงานตัวอื่นๆ
เท่านี้ รายงานที่เราทำไว้ก็ทำงานตาม ที่เราต้องการแล้ว
สามารถประยุกต์ไปเก็บตารางอะไรก็ได้ที่อยู่ในฐาน hosxp
โอเค เริ่มยาวแล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
หากท่านชอบบทความนี้ ฝากกด Like กดแชร์ต่อไปให้ท่านอื่น ได้ทราบด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ แล้วพบกันใหม่ครับ