HOSxP Tip
[Ubuntu] คู่มือติดตั้ง MariaDB 10.3 บน Ubuntu Server 20

[Ubuntu] คู่มือติดตั้ง MariaDB 10.3 บน Ubuntu Server 20

– หลังจากติดตั้ง Ubuntu Server 20 เรียบร้อยแล้วก็จะพามาติดตั้ง MariaDB 10.3 หรือใครจะใช้สูงกว่าก็ได้ แต่ผมแนะให้ใช้ 10.3 ขึ้นไปนะครับ เพราะ stable แล้ว

– อย่างแรกเราต้องใช้สิทธิ root ก่อน เพราะไม่งั้นจะติดตั้งอะไรไม่ได้ ถ้าไม่ใช้สิทธิของผู้ใช้งานสูงสุด ก็คือ root

– กำหนดรหัสผ่านของ root ก่อน หรือใครกำหนดแล้วก็ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย

– เปิด Terminal ขึ้นมาก่อน จะเป็น user เราที่ติดตั้งตอนแรก

ลองเปลี่ยนผู้ใช้งานเป็น root ดู แล้วกรอกรหัส (ติดตั้งครั้งแรกจะยังไม่มีรหัสผ่านของ root )

– ถ้าไม่รู้รหัสหรือไม่ได้กำหนด รหัส ก็มาทำต่อขั้นตอนนี้ พิมพ์คำสั่ง sudo bash

– จะเข้าโหมด root แล้วเราก็สามารถสั่งกำหนดรหัสผ่านได้แล้ว

-พิมพ์คำสั่ง sudo passwd root

– จะขึ้น New password: เราก็กำหนดรหัสผ่าน และยืนยันรหัสผ่าน Retype new password:

-เราก็สามารถเข้า root mode ได้แล้ว สามารถสั่งติดตั้งหรือแก้ไข ไฟล์ แบบ full admin ได้แล้ว

– ต่อมาเราก็สร้างไฟล์ my.cnf เพื่อที่จะเป็นตัวกำหนดค่าเริ่มต้นของ Mariadb

– ดาวโหลดไฟล์ my_for_MariaDB_10_for_4G.txt เอาไปปรับใช้เองนะครับ

*** my_for_MariaDB_10_for_4G.txt (53 downloads ) ***

– โอนไปยัง server ubuntu ด้วยโปรแกรม WinSCP นะครับ ตามรูป

– ใครใช้ WinSCP แล้วเข้าไม่ได้สักที ตรวจสอบว่า firewall เปิด port 22 หรือยังนะครับ ให้เข้าไปเพิ่มด้วย

-แล้ว copy ไฟล์ my_for_MariaDB_10_for_4G.txt ไปเก็บไว้ที่ /etc/mysql/

cp my_for_MariaDB_10_for_4G.txt /etc/mysql/my.cnf

– โดยไฟล์ config ของ my.cnf จะแยกตามค่ายของ linux ต่างๆ นะครับ ถ้าเป็น RHEL , Centos จะอยู่ที่ /etc/my.cnf แต่ถ้าเป็น Ubuntu , Debian จะอยู่ที่ /etc/mysql/my.cnf นะครับ ดูดีๆๆ เด้อครับ

– ส่วนใครจะแก้ไขไฟล์ my.cnf ก็ปรับตามความเหมาะสมนะครับ ที่ผมมีให้ก็คือแบบพื้นฐาน นะครับ ไม่ได้ สมบูรณ์แบบ 100% แต่อย่างใด ปรับแก้ไขได้ครับ

-ต่อมาทำการสร้าง repo โดยเราจะไปดาวโหลด mariadb _repo_set มาติดตั้งอีกที จะได้ใช้คำสั่ง sudo apt install ได้ง่ายขึ้น

– ทำการติดตั้ง wget ก่อน (ถ้ายังไม่มี)

– คำสั่ง sudo apt install wget

– ต่อมาสั่งดาวโหลดไฟล์ repo มา

– wget https://downloads.mariadb.com/MariaDB/mariadb_repo_setup

-ต่อมาสั่ง echo ตรวจสอบ

echo “b9e90cde27affc2a44f9fc60e302ccfcacf71f4ae02071f30d570e6048c28597 mariadb_repo_setup” \

| sha256sum -c

– ถ้าขึ้น OK ก็แสดงว่าถูกต้องแล้ว สามารถใช้งาน repo setup นี้ได้

– ต่อมาสั่ง chmod -x mariadb_repo_setup เพื่อให้สามารถเขียนอ่านไฟล์ ได้ทุกกลุ่ม

– ต่อมากำหนดให้ติดตั้ง repo เฉพาะ mariadb-10.3 เท่านั้น ไม่เอาเวอชั่นอื่น/p>

sudo ./mariadb_repo_setup \

–mariadb-server-version=”mariadb-10.3″

– ต่อมาสั่ง sudo apt update

– ต่อมาสั่งติดตั้ง mariadb-server ได้แล้ว

sudo apt install mariadb-server mariadb-backup

– กด Y เพื่อยืนยันการติดตั้ง

– และรอ ดาวโหลดและติดตั้ง

– ติดตั้งเสร็จแล้ว กำหนดให้ MariaDB ทำงานตอนเปิดเครื่องด้วย

– sudo systemctl status mariadb คือตรวจสอบว่ามันทำงานอยู่หรือยัง

– sudo systemctl enable mariadb คือสั่งให้กำหนดให้ทำงานตอนเปิดเครื่องใหม่ด้วย

– ตรวจสอบว่า mariadb เราใช้เวอชั่นอะไร

mysql -V

– ต่อมากำหนดความปลอดภัย คือกำหนดรหัสผ่าน root และ เครียค่าพื้นฐาน ตามนี้เลย

sudo mysql_secure_installation

– กำหนดรหัสผ่าน root หรือไม่กด enter เลย

– จริงๆ ก็ทำเหมือนกันกับ Centos เลยครับ

– แล้วค่อยมาสร้าง user สำหรับเข้าฐาน ยกตัวอย่างผมจะ grant แบบ ทุกฐาน และทุกวง lan ให้มีสิทธิเข้ามาใช้งานได้

– และสั่ง flush privileges;

– ต่อมาสร้างฐาน hos กำหนด character tis620

– ต่อมาอย่าลืมกำหนด firewall นะครับ เพื่อเปิด port 3306 ด้วย

– sudo ufw allow 3306/tcp

– ก็พร้อมให้เครื่องลูกข่าย เข้ามาใช้งานฐานข้อมูล MariaDB บน server เราได้แล้วครับ

– ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ก็สามารถโอนฐานข้อมูลมาใส่ใน ฐานนี้ได้เลย และพร้อมใช้งานครับ ค่อยปรับจูน my.cnf อีกทีหลังใช้งาน กรณีมีข้อมูลเยอะและ workload เยอะๆ นะครับ

– น่าจะประมาณนี้ ขาดอะไร ก็เสนอแนะ แจ้งมาได้ครับ จะทบทวนและเขียนเพิ่มเติมครับ

– ขอบคุณที่ติดตาม แล้วพบกันใหม่ครับ

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.