Delphi Tip
[Ubuntu] คู่มือติดตั้ง Ubuntu Server 20 พร้อมลง GUI

[Ubuntu] คู่มือติดตั้ง Ubuntu Server 20 พร้อมลง GUI

ตัวเลือกสำหรับ Server ที่จะลง Linux สำหรับใช้งาน HOSxP ถ้าไม่เลือก Centos8 ผมก็แนะนำให้มาใช้ Ubuntu Server 20 นะครับ หรือใครจะลง Ubuntu Desktop ก็ได้ ข้อแตกต่างระหว่าง Ubuntu Desktop กับ Ubuntu Server คือ ใช้งาน GUI ตัว Desktop จะใช้ GUI ส่วนตัว Server จะตัด GUI ออกไปนั้นเอง เพราะ GUI มันกินแรมหรือจองหน่วยความจำไว้ประมาณ 2 G ไว้รอเลย ประมาณนี้….
– ถ้าเลือก Ubuntu Server 20 ละก็มาลุยกันเลย
– ดาวโหลดไฟล์ ISO มาก่อน โดยเลือก ubuntu 20 live server amd64 นะครับ
https://releases.ubuntu.com/20.04/

– ดาวโหลด iso ได้แล้วก็ติดตั้งกันเลย ผมจะติดตั้งลงบน VM (Proxmox) ให้ดูละกันนะครับ

– เลือกเมนูภาษาอังกฤษ

– เลือก keyborad เลือก English ตามค่าที่แสดงเลย ไม่ต้องแก้ไขอะไร

– กำหนด Network ควรกำหนดค่าเอาเองนะครับ หรือจะกำหนดภายหลังก็ได้ แต่ถ้ากำหนดก่อนเลยก็ได้ครับ
ในที่นี้ผมจะกำหนด ip = 192.168.1.200 นะครับ subnet จะเป็น 24 ก็คือ 192.168.1.0/24 (ไม่ใช่ 255.255.255.0 นะ)





– กด Done ต่อไปได้เลย

– proxy ไม่ต้องกรอก กด Done ข้ามไปได้เลย

– archive mirror ให้เลือก ค่าที่แสดงเลย ก็ได้ เพราะเราอยู่ ประเทศไทย ก็จะขึ้นต้นด้วย th.archive.ubuntu.com นั้นเอง

– ถ้ามีตัวเลือกให้ update ตัวล่าสุด ก็ยังไม่ต้องก็ได้ หรือจะอัพเลยก็ได้ แต่จะใช้เวลาพอสมควร (ผมใช้ตัว 20 นี้ก็ stable แล้วครับ)

– ต่อมา ตัว storage หรือ Hard disk จะลบทั้งหมด แล้วสร้าง LVM หรือ ไม่เลือก LVM ก็ได้ ผมแนะนำใช้ LVM นะครับ ตัว harddisk จะมีตัว LVM ป้องกันอีกที หรือถ้าไม่เลือก LVM ก็จะอ่านเขียน Harddisk ตรงๆเลยก็เร็วกว่า แต่ไม่มีอะไรป้องกัน (เหตุผลส่วนตัว แนะนำเลือก LVM นะครับ ถ้าเคยใช้ Centos จะเลือก LVM )

– จะแสดง รูปแบบ partition ว่าแบ่งตามนี้โอเคไหม เอาตามที่แสดงเลยครับ ถ้ามือใหม่นะครับ (สำหรับ server ของ รพ.สต. ใช้แค่ 512 G พอครับ ยิ่งถ้าใช้ SSD ด้วยก็จะเร็วขึ้นครับ แนะนำ)

– ยืนยัน การ format

– ต่อมากำหนด ชื่อผู้ใช้งาน
your name = ชื่อผู้ใช้ แต่ไม่ใช่ชื่อ username ปกติผมใช้เป็นชื่อเครื่อง
your server’s name = ชื่อเครื่อง computer
pick a username = ชื่อผู้ใช้ อันนี้สำคัญเพราะเป็น username ตอน login
choose a password = รหัสผ่าน
confirm your password = ยืนยันรหัสผ่าน

– ต่อไปเลือก ssh เพื่อให้เครื่อง client เครื่องอื่นรีโหมดมาเขาเครื่องนี้ได้ ผ่าน putty หรือ command line (มือใหม่ควรเลือก นะครับ)

– ต่อมาเลือก Featured ที่จะติดตั้ง อันนี้จะยากหน่อย ผมแนะนำไม่ต้องเลือก จะได้ไม่งง 555

– ต่อมาก็รอให้มันติดตั้ง จนกว่าจะเสร็จนะครับ


– ถ้าเสร็จแล้วจะแสดง ปุ่มให้เรา reboot แต่ผมจะรอให้มัน update เสร็จก่อนแล้วค่อย reboot ทีเดียว ไม่ต้องมา sudo apt update ทีหลัง

– กด Enter 1 ครั้งเพื่อ reboot นะครับ เหมือนเอาแผ่น cdrom ออกนั้นเอง

– เมื่อ reboot แล้ว ก็จะขึ้นหน้าจอ login ที่เป็น command line สีดำๆ (คนที่เคยใช้ gui มาก่อนอาจจะงง ) ต่อมาเราจะมาติดตั้ง gui ให้กับตัว server กันครับ
– แต่ก่อนจะลง gui ผมแนะนำให้ ทำการอัพเดต ก่อนโดยใช้คำสั่ง sudo apt update (เป็นคำสั่งอัพเดต เหมือน yum update ของ centos )

– มันจะแสดง ชื่อ เครื่องและให้เรา Login ด้วยชื่อ username นั้นเอง

– ถ้า login ได้แล้ว ก็พร้อมใช้งานแล้วละครับ แต่ๆๆๆ เราจะใช้หน้าจอ GUI ถ้ามา คีย์คำสั่ง เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คงจะงง หรือไปไม่เป็นก็ได้ อะเราก็มาเริ่มติดตั้ง GUI กันต่อครับ
– ในกรณีนี้ผมจะใช้คำสั่ง ติดตั้ง ubuntu-desktop
sudo apt install ubuntu-desktop

– ถ้ามีหน้าจอให้ยืนยัน รหัสผ่านก็ใส่รหัสยืนยันของ user เรานะครับ
– ถ้าขึ้นให้เรา กด Y/n ก็กด y แล้ว Enter

– รอดาวโหลด (อย่าลืมว่าต้องต่อ internet ด้วยนะครับ)

– ใช้เวลาประมาณ 5 – 45 นาที ขึ้นอยู่กับความเร็วของ internet นะครับ (เหมือนดาวโหลดไฟล์ iso เลย เท่าที่ผมรอมา)

– รออีกนิด ดาวโหลดเสร็จก็จะติดตั้ง Unpacking ….. รอให้ครบ 100%

– รอต่อไป….

– รอจนเสร็จ จะขึ้น Promote
– เสร็จแล้วมาติดตั้ง lightdm เพิ่มเติม เพื่อจัดการการแสดงผลเริ่มต้น ( มีคนแนะนำมาว่าจะช่วยให้กินแรมน้อยลง )
พิมพ์คำสั่ง sudo apt install lightdm

– กด Y แล้ว Enter เพื่อยืนยัน
– ต่อมาถ้าขึ้น Package configuration ให้เลือก lightdm แล้วกด enter

– รอจนติดตั้งเสร็จ

– ต่อมา แล้วพิมพ์คำสั่ง sudo service lightdm start

– ก็จะขึ้นหน้าจอ GUI ให้เราแล้วละครับ

– เอาเมาส์คลิกได้แล้ว ง่ายขึ้นครับ
– เราก็ login เข้าระบบได้เลย ใส่รหัสผ่านได้เลย

– ตรวจสอบว่าเราใช้โหมด GUI แบบ lightdm หรือ ก็พิมพ์คำสั่ง cat /etc/X11/default-display-manager
ถ้าขึ้น lightdm ก็แสดงว่าใช้ได้แล้วครับ

– หากต้องการปิด GUI ก็เพียงแต่พิมพ์คำสั่ง sudo service lightdm stop ก็จะกลับไปสู่โหมด command line สีดำๆ แล้วละครับ จะได้มีแรมเหลือ มากขึ้นครับ
– ต่อมาจะมาติดตั้ง Mariadb 10.3 กันใน ubuntu 20 นะครับ ไว้อ่านบทความต่อไปนะครับ

– ขอบคุณที่ติดตามแล้วพบกันใหม่ครับ








Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.