Proxmox
[Proxmox Tip] รู้จักกับ Proxmox Backup Server เอาไว้ทำอะไร มาดูกัน?

[Proxmox Tip] รู้จักกับ Proxmox Backup Server เอาไว้ทำอะไร มาดูกัน?

Proxmox Backup Server  คืออะไร เอาไว้ทำอะไร
– เป็นระบบ Backup โดยเฉพาะของ Proxmox VE เลยครับ  เน้นที่ความเร็วในการสำรอง ตั้งเวลาสำรองได้ ครบ 7 วัน หรือทุกวันก็ได้  สามารถสั่ง Backup แบบทำงานอยู่ หรือจะ stop ve ก่อนก็ได้  เหมาะสำหรับองค์กร ที่มีข้อมูลเยอะ VE เยอะๆ แล้วเวลาย้าย server จะสะดวกกว่าลง OS ใหม่  ถ้าระบบเดิมยังใช้งานได้ดีอยู่
– ไม่อธิบายเยอะ  ลุยกันเลยครับ
– อย่างแรกดาวโหลดมาก่อนที่เว็บ  https://www.proxmox.com/en/proxmox-backup-server



– ก็จะได้ไฟล์ iso  จะเอาลง USB หรือ สร้าง VE เก็บเหมือนผมก็ได้

– ติดตั้ง Proxmox Backup Server ต่อได้เลย

– ลงเหมือน Proxmox VE  จะมีหน้าจอเมนู  เลือก  Install Proxmox Backup Server

– รอโหลด  สักพัก



– เลือก I agree

– ตรวจสอบ Harddisk ต้องมี Harddisk 2 ลูกขึ้นไปนะครับ เพราะลูกแรกจะเก็บ OS ลูก 2 จะเอาไว้เก็บ ZFS สำหรับ Backup นั้นเอง ถ้าเห็นแล้วกด Next   (กรณีไม่พบ Harddisk ก็กลับไปตรวจสอบก่อนนะครับ)
** กรณีผมสร้างใน VE เลยกำหนด Hard disk 2 ลูก **
** รูปตัวอย่าง **

– ต่อๆๆ หลังจากกด Next

– เลือก Thailand เพราะโซนเวลา จะได้เป็นประเทศไทยนะ  กด Next

– เลือก Card Lan Interface ที่จะตั้งค่ากำหนด IP Address นะครับ  กำหนด Hostname ตามต้องการ  กำหนด ip , Gateway , DNS Server ถ้าจะให้ออกเน็ตได้นะ  ถ้าไม่ให้ออกเน็ตก็ไม่ต้องกำหนด

– ต่อมาตรวจสอบ การตั้งค่าที่ผ่านมาว่าครบหรือยัง  ถ้ายังก็กด Previous เพื่อกลับไปแก้ไขได้ ติ๊ก Automatically reboot after successful installation เพื่อถ้าติดตั้งเสร็จให้ ปิดเครื่องเปิดใหม่  …. ถ้าโอเคแล้ว กด Install ได้เลย

– ที่นี้เราก็รอๆๆๆๆๆ
รอจนกว่าจะ install เสร็จ

– รอต่อๆไป

– เป็นอันเสร็จ ให้เราเข้าไปที่  ip address ตามที่หน้าจอได้แจ้งไว้   ตามรูปเลย  เช่น https://ipaddr:8007

– เปิด browser ใส่ ip ตามที่หน้าจอแจ้งไว้

– กรณีเป็น https ตัว browser จะแจ้งเตือนให้ระวัง ถ้าจะเข้าก็ให้กดปุ่ม Advanced

– จะมี Link สำหรับเข้าแบบ Proceed to ip address (แบบ unsafe โหมดไม่ป้องกัน)

– ก็จะเข้าได้เลย ให้กรอก User Name Password ที่ได้ตั้งไว้ตอน ติดตั้งนะครับ

– หน้าจอ Dashboard ก็ประมาณนี้ สำหรับตัว Proxmox Backup Server

– ต่อมาเราจะมาสร้าง Storage Disk กัน  จะเป็น Hard disk ตัวที่ 2 ที่อยู่โหมด unused อยู่  เราก็จะสร้าง ZFS กันครับ

– เลือก ZFS เพื่อสร้าง Disks แบบ ZFS
(Zettabyte File System: ZFS  คือสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล และความสามารถด้านเสถียรภาพของระบบไฟล์อื่นๆ เช่น RAID-Z, snapshot, copy-on-write)  รายละเอียดไปหาอ่านใน google นะครับ  ว่า Disk ZFS คืออะไร ดียังไงนะครับ

– ตั้งชื่อ Name ก่อน เช่น  ProxmoxBackup  แล้วเลือก Device ที่เราจะสร้าง เสร็จแล้วกดปุ่ม OK

– รอสักพัก ระบบจะสร้าง ZFS Storage ให้

– ได้แล้ว ProxmoxBackup ขนาดที่ใช้ได้จริงๆคือ  596 GiB

– โดย Datastore จะแสดงชื่อ Disk ZFS ที่เราสร้างไว้มีอะไรบ้าง ก็จะขึ้นชื่อ ProxmoxBackup ของเรานั้นเอง  หน้านี้เอาไว้ monitor การทำงานด้วยว่าเหลือพื้นที่เท่าไหร่  ประมาณนี้ครับ

– ถ้ากลับไปดู Storage / Disks ก็จะเป็น โหมดของ disk จากเดิม unused เป็น zfs แล้วนะครับ แสดงว่าถูกแล้ว
************************************************************************************
เสร็จแล้วในฝั่ง Proxmox Backup Server
************************************************************************************

– ไปฝั่ง Proxmox Virtual Environment กันครับ
โดยเราจะไปสร้าง disk zfs ที่ชี้มาจาก ip ของ Proxmox Backup Server นั้นเอง
– เข้า Proxmox VE ของเรา



– ไปเมนู Storage แล้วเข้าไป Add  เพื่อจะดึง zfs จาก ip จาก Proxmox Backup Server ที่เราติดตั้งไว้ตอนแรก

– หน้า Add ให้เลือก Prxomox Backup Server นะครับ

– กำหนด ID ตามต้องการ  เช่น ProxmoxBackup  กำหนด Server ก็คือ ip ของตัว Proxmox Backup Server
กำหนด username กับ password

– ส่วน Datastore ก็กลับไปดูชื่อที่เราตั้งไว้ เอามาใส่ให้ตรงชื่อนะครับ เช่น ProxmoxBackup

– ส่วน Fingerprint ให้กลับไปดูในหน้าจอ Proxmox Backup Server หน้าจอ Dashbord จะมีปุ่ม Show Fingerprint ให้กดเข้าไป จะแสดงข้อมูลให้เรา copy มา

– เอาไปวางได้เลย

– กดปุ่ม Add ได้เลย

– ก็จะได้ disk zfs มาแล้ว  ในส่วนของ Storage เราก็เอาไว้สำรองข้อมูลแบบ network ได้แล้ว  เหมือน NAS storage นั้นเอง แต่เก็บเฉพาะ Proxmox VE เท่านั้นเอง
– ได้เวลา กำหนดการ Backup กันแล้วครับ  (รอมานาน)  เข้าไปที่ Datacenter ของเรา แล้วเลือก Backup กดปุ่ม Add

– กดปุ่ม Add

– จะเป็นระบบสั่ง Backup แบบตั้งเวลาทำงาน  กำหนด Storage เราก็เลือก disk zfs ที่เราสร้างไว้ใหม่ๆ นี้เลย  แล้วกำหนด วันที่ภายใน 1 สัปดาห์ ว่าจะสั่งให้ทำงาน Backup ทุกๆ วันไหน เลือกได้มากกว่า 1 วันก็ได้  เลือกเวลา  ปกติผมก็เลือก 00:00 คือเที่ยงคืนนั้นเอง  เลือก Mode ให้เลือกแบบ Stop เพื่อจะทำงานแบบเร็วกว่าแบบที่ยอมให้ทำงานอยู่  เลือก ID ที่จะสำรองข้อมูล กรณีผมเลือกเฉพาะ id = 100 เพื่อทดสอบ  ต่อมา กดปุ่ม Create ได้เลย

– ก็จะได้เวลาการทำงาน Backup แล้วเวลา 00:00 น. เฉพาะ id 100 ให้ไปเก็บไว้ที่ Storage = ProxmoxBackup นั้นเอง

– ได้เวลาทดสอบแล้ว  ผมจะทำการสำรองข้อมูล ID = 100 (Centos8x64XrayAI)   โดยจะ stop ก่อนแล้วค่อยสำรอง เพราะจะเวลาสำรองไม่นาน  ถ้าเทียบกับ สำรองแบบยังทำงานอยู่
– stop ตัว 100 ก่อน

– โอเค stop เสร็จแล้ว

– กลับไปเมนู Datacenter –> Backup แล้วเลือก Run now เพื่อสั่ง Backup นั้นเองครับ  แล้วก็รอๆๆ

– สถานะทำงานอยู่  กดดับเบิ้ลคลิกที่ สถานะนี้เพื่อแสดง หน้าจอสถานะแบบละเอียด

– ก็จะเป็นสถานะ % ว่าทำงานถึงไหนแล้ว

– โอเค  23% แล้ว รอๆๆๆๆ

– รอ 70% แล้ว  สถานะฝัง Proxmox Backup Server ก็ทำงานปกติ โดยใช้ Disk ไปแล้ว 3.47 Gib แล้ว

– เสร็จแล้ว จะขึ้นข้อความว่า TASK OK.  กลับไปตรวจสอบฝั่ง Proxmox Backup Server ใช้ disk ไปแล้ว 4.32 GiB แล้ว แสดงว่า ไฟล์สำรอง ก็ประมาณ 4 Gib กว่าๆ ของครั้งนี้นั้นเอง  ไฟล์จะใหญ่ขึ้นตามการ Backup แต่ละครั้ง เพราะเก็บแบบ VE

– ตรวจสอบไฟล์ที่ Backup ครั้งนี้ได้ที่  เมนู  ProxmoBackup –> Backup ไฟล์จะแสดงให้เราเห็นครับ

– ต่อมาได้เวลาทดสอบไฟล์ Backup ว่าใช้งานได้จริงๆไหม  โดยผมจะลบ VE ตัว 100(Centos8x64XrayAI) ออก แล้วทำการ restore ไฟล์ Backup ที่เพิ่งจะ Backup ไว้นั้นเอง
– ว่าแล้วก็ stop ตัว VE 100 เลย

– เลือก ID = 100 แล้วกด Remove เลย

– โอเค รอลบ

– ลบเรียบร้อยแล้ว  เพราะ ID 100 หายไปแล้ว
– ได้เวลากู้คือ restore

– ไปเมนู ProxmoxBackup –> Backup เลือกไฟล์สำรองล่าสุด แล้วกดปุ่ม Restore

– เลือก ID 100 แล้วกดปุ่ม Restore

– แล้วเราก็รอๆๆ

– รอ  แล้วดู % ถึงไหนแล้ว  (ลุ้นๆๆ)

– ลุ้นต่อไป  23% แล้ว

– เรียบร้อย แล้ว  100%

– มาแล้ว ID 100 (Centos8x64XrayAI)  กู้คืนมาได้แล้ว  ลองเปิดใช้งานดูสิ

– รอบูดเข้า Centos 8

– ok ใช้งานได้ปกติครับ

– เป็นอันเรียบร้อย  ครับ
– ก็สรุปได้ว่า ตัว Proxmox Backup Server เหมาะสำหรับเก็บข้อมูลเฉพาะ Proxmox VE ที่สามารถสั่งตั้งเวลา สำรองข้อมูลตัว VE ได้และสามารถกู้คืนระบบได้  หรือจะย้าย server ไปเครื่องใหม่ก็ได้  โดยใช้งานภายใน LAN องค์กรนั้นเอง  เหมาะสำหรับ ระบบรับประกัน กรณีย้าย server หรือกู้คืนระบบ  เพราะ admin ก็ควรสำรองข้อมูลไว้  กรณีใช้งาน Proxmox นะครับ

– ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
– ขอบคุณที่ติดตาม แล้วพบกันใหม่ครับ

 

 

Loading

1 thought on “[Proxmox Tip] รู้จักกับ Proxmox Backup Server เอาไว้ทำอะไร มาดูกัน?

    • Author gravatar

      บอกได้ประโยคเดียวคือ: สุดยอดการสอน และ สนุกมาก ที่สอนแต่ 0-100 ผมชอบมากครับ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.