HOSxP Tip
[HOSxP Tip] มือใหม่เริ่มต้นเรียนรู้ 43 แฟ้ม

[HOSxP Tip] มือใหม่เริ่มต้นเรียนรู้ 43 แฟ้ม

สำหรับมือใหม่จริงๆ นะครับ  (มีน้องจาก จังหวัดน่าน สอบถามเข้ามา เพิ่งเริ่มงานใหม่ จะเริ่มหรือเรียนรู้อะไรก่อนดี )
– โดยหลักแล้ว มือใหม่ก็น่าจะมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ หรือการเขียนโปรแกรมมิ่งมาบ้างแล้ว ผมจะข้ามไปนะครับ จะแนะนำเฉพาะเรื่อง 43 แฟ้มละกัน
– แนะนำผู้เริ่มต้น เลยนะครับ เข้าไปเว็บ http://spd.moph.go.th/

– ผมเข้าใจว่าเป็นเว็บทางการ ของ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ที่เป็นผู้ออกแบบข้อมูล มาตราฐานกลาง ให้เรามากำหนดข้อมูลส่งไฟล์ที่มีโครงสร้างฐานข้อมูลด้านสุขภาพ ของกระทรวงสาธารณสุข หรือเรียนสั้นๆว่า  43 แฟ้ม  หรือ 50 แฟ้ม
– และเข้าไปติดตามที่ version 2.4 ที่เป็นเวอชั่นล่าสุด ของปี 2563  ( มีคนบอกว่าจะไม่มีการเพิ่มแฟ้มอีกแล้ว……แต่ไปพัฒนาระบบส่งต่อ  HL7…….. อันนี้ผมก็ยังไม่รู้ชัดเจนนะครับ)

– 43 แฟ้ม ที่มือใหม่ควรรู้ คือทั้งหมดนี้แหละครับ(เยอะมาก….ขอบอก)  แต่อย่าเพิ่งท้อ  ให้ค่อยๆ เรียนรู้ไปเป็นเรื่องๆ เอาครับ
– เข้าไปดูรหัสมาตราฐานตามโครงสร้าง 43 แฟ้มก่อน

– หน้านี้จะบอกอะไรบ้าง  ?
– ตอบ บอกที่มาที่ไป  ว่าเขาได้พัฒนามายาวนาน เพิ่งมาเป็นรูปเป็นร่าง ตั้งแต่ปี 2560 มาจนถึงปัจจุบัน ที่ทุกคนเข้าใจดีว่า  (ข้อมูลเยอะแลกเงิน –> ข้อมูลคุณภาพแลกเงิน –> ข้อมูลสมบูรณ์แลกเงิน –> ข้อมูลภาพรวม หน่วยบริการเยอะแลกเงิน) หรืออื่นๆ ตามที่ติดตามข่าวในวงการ  นะครับ
– จนมีเทพจุติ  หลายๆท่าน หลายๆ จังหวัด  อันนี้ก็แล้วแต่สมาชิก จะสังกัดค่ายไหนนะครับ แต่รวมๆ แล้ว เป็นมาตราฐานเดียวกันทั้งประเทศ อะครับ  มีผลดีคือข้อมูลน่าเชื่อถือขึ้น และ ข้อมูลไม่น่าเชื่อขึ้น พร้อมๆ กัน
– กลับมาต่อเรื่องการเรียนรู้นะ…..
– เข้าไปดูรายละเอียด  Standard Code43 (v2.4) 15Oct19 กันดู

– ข้อมูลนี้ก็เปรียบเหมือนข้อมูล lookup ที่เก็บไว้ในฐาน hosxp และ hosxp_pcu นั้นเอง เพื่อให้ส่งออกตามโค้ดที่กำหนด ในนี้นะครับ

– ยกตัวอย่างตาราง pname กับข้อมูล  1.รหัสคำนำหน้าชื่อ (แฟ้ม PERSON) เป็นต้นนะครับ
– นี้คือรหัสมาตราฐาน  (ทางนักคอมฯ จะเข้าใจว่าเป็นข้อมูล lookup )
– มือใหมควรเรียนรู้เรื่องแรกนี้ก่อนนะครับ  (จะใช้เวลานานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับตัวท่านแล้วละครับ)

– ต่อมา มาเรียนรู้เรื่องชุดข้อมูล  dataset


– มีรหัสมาตราฐานยา   , รหัสโรคและอาการ , รหัสหัตถการ   ที่เราจะต้องดูไปพร้อมกับ เข้าไปที่เก็บใน HOSxP, HOSxP_PCU ว่าเก็บที่ตารางอะไร  อาจจะเข้าไปแก้ไขหรือปรับแต่เพิ่มเติม หากมีข้อมูล ชุดใหม่ มา เพราะรหัสจะรันเองไม่ได้ ต้องอ้างอิงจากเว็บนี้  กำหนด
– ยังไม่รวมถึงระบบ การจัดทำบัญชีข้อมูลยา (Drug catalog)  เขาจะเรียนว่ารหัสมาตราฐาน TMT  นั้นเอง
ดาวโหลดคู่มือได้ที่นี้
*** คู่มือการจัดทำ บัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (13 downloads ) ***

– ต่อไปค่อยไปเรียนรู้วิธีการบันทึกข้อมูลใน HOSxP, HOSxP_PCU ว่าบันทึกหน้าจอไหนบ้าง  แล้วค่อยไปเรียนรู้วิธีการส่งออก 43 แฟ้ม
– อ่านคู่มือการติดตั้ง ตัวส่งออกตามนี้ เพจหน้านี้ครับ  *** วิธีติดตั้ง BMSHOSxPStandard43Export (สำหรับมือใหม่) ***

– แล้วพอส่งออกได้แล้ว  ก็มาใช้โปรแกรมตรวจสอบความสมบูรณ์  มือใหม่แนะนำใช้โปรแกรม OP-PP2010  ใช้ในการตรวจสอบนะครับ

– คิดว่ามือใหม่น่าจะเข้าใจง่ายขึ้น

– ตัวอย่าง

– แล้วค่อยไปหาโปรแกรมอื่นๆ มาช่วยตรวจสอบ อีกทีก็ได้

– ต่อมาก็มาเรียนรู้วิธีการส่ง 43 แฟ้ม ส่งรายวัน  , ส่งรายสัปดาห์ , ส่งรายเดือน หรือส่งทั้งปีก็ว่ากันไป…..  ตาม PM ของ สสจ. ของท่านแจ้งมานะครับ  จะได้สื่อสารเข้าใจครับ

– ยังไม่หมดนะครับ  ยังมีเรื่อง การ map ต่างของ dataset อื่นๆ เช่น LAB PROVIS (รหัสแลป) , เรื่องการบันทึก special pp , เรื่องการติดตาม QOF หรือ KPI  ตามเว็บ HDC ของแต่ละจังหวัด  หน้าที่หลักของมือใหม่ ก็คือ คนเข้าไปติดตาม รับทราบผลงานของ KPI , copit, QOF  หรืออื่นๆที่  เราได้รับมอบหมายให้ทำ  แต่เราสามารถทำเกินงานมอบหมายได้  (หากเรามีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรม เอ๋มาจากไหน)

– ติดปัญหาอะไรก็ค่อยทักหาผมอีกทีละกัน  ขอเป็นเรื่องๆ นะ ไม่เราหลายเรื่องมาให้ผมเขียนอธิบาย เดียวมันตีกัน….

– วันนี้มาแค่นี้ก่อน ขอบคุณที่ติดตาม แล้วพบกันใหม่ครับ
ปล. ผมไม่ได้เก่งเรื่อง 43 แฟ้มนะครับ แต่พอชี้แนะแนวทางให้ได้เท่านั้นเองครับ

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.